วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2555

การอัดภาพแบบ Cyanotype

การอัดภาพแบบ Cyanotype

cyanotype เป็นการอัดภาพแบบโบราณประเภทหนึ่งครับ เรียกว่าเป็นวิธีอัดภาพแบบแรกๆตั้งแต่มีการคิดค้นการถ่ายรูปขึ้นมาเลยก็ได้ วิธีการอัดรูปแบบนี้จะใช้กับฟิล์มขาวดำ แต่ให้ภาพที่อัดออกมาเป็นสีฟ้าเข้ม แม้ว่าทุกวันนี้คำว่า blueprint จะมีความหมายถึงสิ่งที่เป็นต้นแบบหรือแม่พิมพ์ แต่ที่มาของมาคำก็คือ cyanotype

cyanotype ถูกคิดค้นขึ้นประมาณกลางศตวรรษที่18 โดยนักวิทยาศาสตร์ชื่อ Sir John Herschel แต่คนที่นำวิธีนี้มาใช้กับการถ่ายภาพเป็นคนแรกคือนักพฤกษศาสตร์หญิงนามว่า Anna Atkins ซึงเธอก็คือเพื่อนของ Sir John Herschel
ข้อดี ของ cyanotype ก็คือ มันเป็นการอัดภาพที่ไม่ต้องใช้ห้องมืด เพราะตัวน้ำยาที่ผสมแล้วจะทำปฏิกิริยากับแสงอัลตร้าไวโอเลตของแสงอาทิตย์ เท่านั้น ดังนั้นเราจึงสามารถผสมตัวน้ำยาและทาลงบนสิ่งที่เราจะใช้อัดให้เกิดภาพใน
ข้อดีอีก อย่างหนึ่งก็คือ การอัดภาพแบบนี้สามารถทำลงบนวัสดุใดๆก็ที่สามารถซึมซับน้ำได้ ไม่ว่าจะเป็นกระดาษหรือผ้า ซึ่งต่างกับการอัดภาพในปัจจุบันที่ต้องใช้กระดาษอัดรูปโดยเฉพาะ
ขั้น ตอนการทำก็ไม่ยุ่งยาก ที่เราจำเป็นต้องมีคือสารเคมี2ตัวคือ Potassium ferricyanide และ Ferric ammonium citrate
นำมาเผสมน้ำตามสัดส่วนที่เค้ากำหนด แล้วเก็บไว้แยกกันในภาชนะที่ป้องกันแสงได้ เมื่อเราจะใช้เมื่อไหร่ ก็เทส่วนผสมทั้ง2ในอัตราส่วนเท่าๆกัน ผสมกันซะ เสร็จแล้วก็ทาลงพื้นผิวที่เราต้องการจะให้เกิดภาพ แล้วรอให้แห้ง เท่านี้กระดาษของเราก็กลายเป็นกระดาษที่มีความไวต่อแสงอัลตร้าไวโอเลต
ทีนี้เราก็เอาฟิล์มที่จะใช้อัดมาวางบน กระดาษ หากระจกหรือแผ่นอคริลิกใสมาทับเอาไว้ เพื่อให้แผ่นฟิล์มแนบสนิทดี เสร็จแล้วก็นำไปตากแดดประมาณ10-15นาที สังเกตุดูว่าน้ำยาที่เราผสมจากที่เป็นสีเขียวอ่อนๆจะเริ่มเป็นสีน้ำเงิน เข้มๆขึ้นมา นั่นแสดงว่าเราปล่อยให้มันทำปฏิกริยาจนได้ที่แล้ว
เสร็จ แล้วเราก็นำกระดาษที่เราตากเสร็จแล้วกลับเข้าไปในที่ๆไม่โดนแดด ล้างน้ำยาออกให้หมด สังเกตดูว่าส่วนที่ไม่โดนแสงอาทิตย์ จะยังคงเป็นสีเขียวอ่อนของน้ำยาอยู่ เราก็เปิดน้ำใส่กระดาษจนกว่าจะเห็นว่าสีเขียวนั้นจางหายไปหมดเหลือแต่สีขาว
เท่า นี้ก็เรียบร้อยแล้วครับ ที่กระดาษของเราก็จะหลงเหลือส่วนที่โดนแสงแดดเป็นสีฟ้าเข้ม ส่วนไหนที่ไม่โดนแดดก็จะเป็นสีขาวของกระดาษไป ที่เหลือก็คือเอากระดาษไปตากจนแห้ง แล้วหาอะไรหนักๆมาทับเพื่อให้กระดาษเรียบ
ก่อน จบขอพูดถึงเรื่องฟิล์มที่เอามาอัดซักนิด เนื่องจากการอัดภาพแบบ cyanotype นี้เป็นการอัดแบบ contact print ซึ่งหมายถึงการที่ตัวแผ่นฟิล์มสัมผัสกับกระดาษอัดโดยตรง ทำให้ภาพที่ได้ออกมามีขนาดเท่ากับขนาดของฟิล์มเลย และไม่สามารถอัดขยายแบบการอัดภาพแบบปัจจุบันได้ ดังนั้นเราจึงควรใช้ฟิล์มที่มีขนาดใหญ่หน่อยมาใช้อัด เพื่อที่จะได้คุณภาพของภาพที่ดี อาจจะเป็นพวกฟิล์ม medium หรือ large format ก็ได้
ในกรณีที่เราอยากได้ภาพใหญ่มากๆ ช่างภาพบางคนเค้าใช้วิธีที่เรียกว่า digital negative ซึ่งก็หมายถึงการเอาไฟล์ภาพมาทำให้เป็นภาพขาวดำแล้ว invert ในโปรแกรมแต่งภาพต่างๆ เสร็จแล้วก็ print ภาพนั้นออกมาบนแผ่นใสเพื่อใช้แทนฟิล์มจริงๆ






      
     เครดิต : chaweemek

1 ความคิดเห็น: